แนวทางการเปิดร้านชาบูสร้างเงินแสน
แนวทาง เปิดร้านขายชาบู เป็นธุรกิจส่วนตัวสร้างเงินแสน ร้าน ชาบู เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค ด้วยลักษณะอาหารที่ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการทำ รสชาติอร่อย โดยลักษณะการกินอาหารก่อให้เกิดมิตรภาพในหมู่เพื่อนฝูง นับเป็นกิจกรรมกระชับมิตร สร้างสัมพันธ์ในครอบครัว เพลิดเพลิน อีกทั้งอาหารโดยรวมมีแคลอรี่ต่ำ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้แต่ละร้านขายดิบขายดี จึงดึงดูดใจให้นักธุรกิจหน้าใหม่
เปิดร้านขายชาบูใช้เงินลงทุนเท่าไหร่
การเปิดร้านขายชาบู มีทั้งที่ดำเนินการเองทั้งหมด และการซื้อแฟรนไชส์ซึ่งต้องมีเงินลงทุนสูงพอสมควร
ค่าอาคารสถานที่
ขึ้นอยู่กับทำเล เช่าระยะยาวหรือระยะสั้นแล้วแต่สัญญาการตกลงในเงื่อนไข หรือซื้อ เงินลงทุนต่างกัน หากเป็นการเช่าในห้างสรรพสินค้า จะแพงกว่าการเช่าร้านทั่วไป 15,000 บาทขึ้นไป จนถึง หลายหมื่น ขึ้นอยู่กับทำเลเก่าอยาก จะสร้างธุรกิจเปิดร้านชาบู สำหรับนักธุรกิจหน้าใหม่ที่อยากมี ร้านในรูปธุรกิจของตัวเอง ลองมาดูแนวทางการเปิดร้านชาบูกัน
ค่าอุปกรณ์
ร้านชาบูมีเอกลักษณ์เฉพาะป้ายร้าน ป้ายโปรโมชั่น อุปกรณ์ที่ใช้ก็เป็นเฉพาะ อย่าง ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน เงินลงทุนในส่วนนี้ จึงอยู่ที่ 250,000 บาทขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น หากต้องการเปิดร้านขนาด 10 โต๊ะ ต้องมีอุปกรณ์(ต้องโต๊ะสำลองในช่วงที่มีลูกค้าปริมาณมาก)
- ค่าโต๊ะ – เก้าอี้อย่างดี ไม่ต่ำกว่า 70,000 บาท
- เตาแม่เหล็กไฟฟ้าเตาละประมาณ 1500 บาท 10 เตา = 15000บาท
- หม้อน้ำซุป แบบแบ่งช่องเพื่อแยกรส ประมาณหม้อละ 400 -600 บาท 10 ชุด = 5,000 – 6,000 บาท(ต้องเพิ่มอุปกรณ์สำลองเพื่อไว้ 2ชุด-5ชุด)
- เครื่องสไลด์เนื้อหมู ประมาณ 25,000 บาท จำเป็นต้องมี เพราะเนื้อสไลด์ที่ใช้ในร้านชาบู ต้องบางและสม่ำเสมอ
- ภาชนะต่างๆ สำหรับใส่วัตถุดิบ จาน ถาด ถ้วยน้ำจิ้ม และภาชนะสำหรับลูกค้า กระบวย กระชอน ทัพพี ถ้วย ชุดช้อน-ส้อม ตะเกียบ อีกทั้งอุปกรณ์อื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน ต้องจัดเผื่อไว้เกินกว่า 12 โต๊ะ เพื่อใช้หมุนเวียนให้เพียงพอในแต่ละรอบ 30,000 – 35,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์ที่เลือกซื้อด้วย
- ตู้แช่สำหรับเก็บวัตถุดิบ ราคาขึ้นอยู่กับขนาดของตู้ 30,000 – 50,000 บาท
ค่าพนักงาน
บริหารจัดการเองหรือจ้างพนักงานดูแล ทั้งหมดตั้งแต่ผู้จัดการ โดยทั่วไป และ เน้นพนักงานประจำไม่กี่คน ตามขนาดของร้าน เงินเดือนอยู่ระหว่าง, 10,000 – 15,000บาทขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษา และหน้าที่ในการรับผิดชอบ ที่เหลือจะจ้างพาร์ทไทม์เป็นรายชั่วโมง เพื่อประหยัด และยังต้องมีสวัสดิการสำหรับพนักงานประจำ
ค่าวัตถุดิบ
ขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อ โดยเฉพาะ ในส่วนของเนื้อ ที่ มีให้ลูกค้าเลือก และคุณภาพของวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็น การทำน้ำซุป น้ำจิ้ม เนื้อต่างๆ ผักสดหลากชนิด เมนูเส้น เครื่องเคียง ฯลฯ ที่จัดไว้ บริการ เงินทุนหมุนเวียนส่วนนี้ ขึ้นอยู่กับลูกค้าที่เข้าร้าน ให้เลือกซื้อตามช่วงเวลาของแต่วันที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ โดยเน้นวันที่ลูกค้าเข้าแยะก่อนสั่งในปริมาณที่มาก
ส่วนกรณีซื้อแฟรนไชส์ เงินลงทุนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเจ้าของ 5 แสนบาทขึ้นไป
เปิดร้านขายชาบูเริ่มต้นอย่างไร
- วิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ชาบูเป็นอาหารยอดนิยมของหลายกลุ่มบุคคล ตั้งแต่วัยรุ่น นักศึกษา คนทำงาน ตลอดจนครอบครัว
- หาทำเล ควรอยู่ในทำเลที่ลูกค้ากลุ่มใหญ่เข้าถึงได้ง่าย แต่ก็ควรคำนึงข้อได้เสียของราคาค่าเช่าอาคารด้วย จุดไหนจึงมีส่วนต่างผลกำไรม
- ตระเตรียมก่อนเปิดร้าน แต่งร้าน หาอุปกรณ์ วัตถุดิบ พนักงาน บริหาร
- ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักร้านของคุณ อาจมีโปรโมชั่นช่วงเปิดร้านเพื่อดึงลูกค้าเข้าร้าน
ลักษณะการขายของร้านชาบู
รูปแบบร้านขายชาบู มีหลายรูปแบบ ดังนี้
- ขายอาหารวัตถุดิบเป็นจาน คิดเงินตามสั่ง
- ขายเป็นชุด set จัดและคิดเงินง่าย
- ขายแบบบุฟเฟ่ต์ ราคาต่อหัว อย่าลืมกำหนดรอบรับประทาน เช่น 2 ชั่วโมงต่อรอบ
- ขายแบบชุด สั่งให้ ดิลิเวรี่ ส่งถึงบ้านเพื่อความสะดวกต่อลูกค้าที่ไม่สะดวกไปกินที่ร้าน
กรณีซื้อแฟรนไชส์ ผู้ลงทุนสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ตามคำแนะนำของเจ้าของ มากกว่า
เปิดร้านขายชาบูรายได้ดีไหม
อัตราส่วนรายได้ ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของร้านว่าทำให้มีลูกค้าเข้าร้านมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ต้องมีการบริหารต้นทุน เพื่อให้เกิดผลต่างเป็นกำไร เช่น กำหนดรายได้ต่อวัน หักด้วยต้นทุนค่าใช้จ่าย เป็นกำไร เพราะรายได้ต่อวัน 9,000 – 45,000 บาท นั้น เมื่อหักต้นทุนแล้ว ควรเหลือเป็นกำไรอย่างน้อย 30% จึงจะมีโอกาสคืนทุน ภายในเวลา 6 เดือน
ทั้งหมดนี้คือแนวทางคร่าว ๆ ในการเปิดร้านขายชาบู เป็นธุรกิจส่วนตัวของตนเอง ต้นทุนและราคาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพเศรษฐกิจ ลองทำธุรกิจชาบูอย่างไรไม่ให้เจ๊ง นำไปเปรียบเทียบ และตัดสินใจได้
ร้านชาบู ร้านสุกี้ ร้านหมูกระทะ ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจร้านอาหารที่มีความยุ่งยากค่อนข้างมาก ต้องรับมือกับหลายสิ่งที่คาดเดาได้ยาก การบริหารภายในร้านที่ต้องอาศัยการสังเกต คิด วิเคราะห์ และหาแนวทางแก้ไขอยู่เสมอ ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม การจะเปิดร้านอาหารบางครั้งแค่ฝีมืออย่างเดียวคงไม่พอเพราะนี่คือการทำธุรกิจ
ย้อนกลับไปที่ยุคหมูกระทะเคยรุ่งเรืองและมีการแข่งขันกันสูง ทำให้หลายคนรู้จักร้านอาหารในรูปแบบบุฟเฟ่ต์มากขึ้น ราคาต่อหัวที่ดึงดูดความสนใจทำให้ลูกค้าใช้บริการใช้ในการตัดสินใจ มีอาหารหลากหลายชนิดให้เลือกสรร และเมื่อร้านชาบูได้เข้ามาแทนที่จนได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็นกระแสบอกต่อถูกใจเหล่าบรรดานักชิมทั้งหลายในการเลือก ด้วยเหตุนี้ร้านชาบู ร้าสุกี้ ร้านหมูกระทะ จึงกลายเป็นธุรกิจยอดนิยมอันดับต้นๆในประเทศ ที่มีทั้งรายเล็กรายใหญ่เ ข้ามาจับจองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นที่หลายร้านต้องปิดตัวลงแต่ก็มีร้านใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ สำหรับมือใหม่ที่อยากเข้าสู่วงการนี้ มาดูกันว่าควรทำอย่างไรให้ร้านห่างไกลคำว่าเจ๊งและประสพความสำเร็จแทน